มาตรฐานของพลาสติกชีวภาพ มอก. 17088-2555
ก่อนเข้าสู่เนื้อหาเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพลาสติกชีวภาพนั้น มี 2 ความหมายคือ
2. การแตกสลายทางชีวกาพแบบใช้ออกซิเจนในขั้นสุดท้าย (Ultimate Aerobic Biodegradation)
กำหนดว่า คาร์บอนออกแกนิคsหรือคาร์บอนอินทรีย์ในพลาสติกหรือสารเติมแต่งและตัวเติมใดๆ จะต้องเปลี่ยนเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ (recovery) ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของคาร์บอนออกแกนิค ภายในระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน
3. การไม่เกิดผลเสียต่อความสามารถในการสลายตัวที่ช่วยให้พืชเจริญเติบโต และการปฏิบัติตามข้อกำหนดของภูมิภาคและ / หรือระดับต่างประเทศ
กำหนดว่า 3.1 โลหะและสารพิษในพลาสติก ได้แก่ Zn, Cu, Ni, Cd, Pb, Hg, Cr, Mo, Se, As ต้องไม่เกินเณฑ์ที่กำหนด
3.2 ของแข็งระเหยได้ในพลาสติก ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมวลของแข็งแห้งทั้งหมด
3.3 การเติบโตของพืช โดยเปรียบเทียบการเติบโตของพืชระหว่างพืชที่ปลูกด้วยปุ๋ยที่ได้จากการทดสอบการแตกตัวระว่างการหมักพลาสติก กับพืชที่ปลูกด้วยปุ๋ยที่ได้จากการทดสอบการแตกตัวการหมักที่ไม่ใช้พลาสติก ดังนี้ จำนวนเมล็ดพืชไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 - มวลและมวลแห้งของพืชไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
มาตรฐานอื่นๆ เช่น ASTM D5338, ASTM D5511, ASTM D5988, ASTM D6691, ASTM D6866 เป็นเพียงระเบียบวิธีการทดสอบ (Test Methodologies) มิใช่มาตรฐานข้อกำหนดพลาสติกสลายตัวได้ซึ่งจะมีการบ่งชี้ว่า ผ่าน/ไม่ผ่านตามข้อกำหนด