Antistatic

Antistatic

    เป็นสารช่วยลดการสะสมไฟฟ้าสถิตบนพื้นผิวของผลิตภัณฑ์ โดยป้องกันการแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างพอลิเมอร์กับพื้นผิวของสิ่งอื่นๆ ทั้งยังช่วยหล่อลื่นภายใน จึงนิยมใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก เช่น LDPE, HDPE, PP เป็นต้น

กลไกการทำงานของสารป้องกันไฟฟ้าสถิต

        สารป้องกันไฟฟ้าสถิตที่เติมลงไป จะกระจายตัวในเนื้อพลาสติก เมื่อระยะเวลาผ่านไปสารจะเคลื่อนตัว (Migrate) ไปที่ผิวของพลาสติก และจัดเรียงตัวเป็นชั้นเคลือบผิวพลาสติกเอาไว้ มีหน้าที่จับความชื้นในอากาศ ทำให้ลดการประทุของประจุไฟฟ้าสถิตบนผิวพลาสติกได้ อีกทั้งสารป้องกันไฟฟ้าสถิตนี้ยังมีส่วนที่จับกับความชื้นในอากาศ (ส่วน Hydrophilic) และส่วนที่จับกับผิววัสดุ (ส่วน Hydrophobic) ซึ่งจะช่วยลดค่าความต้านทานไฟฟ้า (Surface Resistivity) บนผิวพลาสติก โดยอัตราการเคลื่อนตัวของสารป้องกันไฟฟ้าสถิตจากเนื้อพลาสติกไปยังผิวจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

  • เวลา (โดย Short Term กระจายตัวไปยังผิวภายใน 24 ชั่วโมง และ Long Term กระจายตัวไปยังผิวภายใน 48 ชั่วโมง)
  • ปริมาณสาร (ยิ่งปริมาณสารมาก ก็ยิ่งกระจายตัวได้เร็ว)
  • อุณหภูมิ (ยิ่งอุณหภูมิสูง ยิ่งกระจายตัวได้เร็ว)

 

ข้อดีของสารป้องกันไฟฟ้าสถิต

  • ป้องกันการเกาะติดของฝุ่นผงบนผิวหน้าชิ้นงาน
  • ลดการเกาะติดของพอลิเมอร์กับเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
  • ลดการเกิดประกายไฟ เนื่องจากประจุไฟฟ้าที่แลกเปลี่ยนกัน
  • ป้องกันการสะสมของประจุไฟฟ้าสถิตบนผิวของผลิตภัณฑ์
  • ลดความเสียหาย และการรบกวนประจุไฟฟ้าในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

 

ข้อเสียของสารป้องกันไฟฟ้าสถิต

  • ต้องเกิดการกระจายตัวของสารไปยังผิวพลาสติก ก่อนการทำงาน
  • มีระยะเวลาในการกระจายตัวของสาร ก่อนการเกิดผลการป้องกันการประทุ
  • การป้องกัน หรือประสิทธิภาพ ขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้นในสิ่งแวดล้อม
  • มีอายุการใช้งานที่จำกัด
  • ทำให้เกิดคราบน้ำมัน

2022 Anti-Static Masterbatch

  • Anti-Static Masterbatch
    0.00 ฿