PP Compound for Automotive

                         ในปัจจุบันนั้น Polypropylene (PP) ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหลาย ๆ อุตสาหกรรม หนึ่งในนั้นก็คืออุตสาหกรรมรถยนต์ (Automotive Industry) โดย PP ได้มีการถูกนำมาใช้แทนที่พลาสติกวิศวกรรม และโลหะหลายชนิด เนื่องจากมีคุณสมบัติที่โดดเด่นในหลายด้าน เช่น คุณสมบัติเชิงกล และ ความสามารถในการขึ้นรูปที่ง่าย อีกทั้งยังมีน้ำหนักเบา และมีราคาไม่แพง จึงเหมาะกับการนำมาใช้ในเชิงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

                         PP ในอุตสาหกรรมรถยนต์นั้น ได้มีการปรับปรุงให้เป็นในรูปแบบของ PP Compound เพื่อให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น โดยต้องมีการปรับปรุงคุณสมบัติหลายประการ หนึ่งในนั้นคือการเพิ่มความแข็งและความเหนียว โดยสารตัวเติมที่สำคัญในการช่วยให้มีประสิทธิภาพด้านนี้ที่มากขึ้นนั้น ได้แก่ Inorganic Fillers ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยเพิ่มความแข็งและความเหนียวให้กับ PP

 

                       เนื่องจากชิ้นส่วนของรถยนต์นั้น มีหน้าที่ในการปกป้องคนขับและผู้โดยสารจากอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น ชิ้นส่วนกันชนหน้าและหลังของรถยนต์ ดังนั้นคุณสมบัติอย่างต่อไปที่มีความจำเป็นอย่างมากต่อ PP ในอุตสาหกรรมนี้ก็คือ ความสามารถในการทนต่อแรงกระแตกที่ดี ซึ่งในการปรับปรุงคุณสมบัติด้านนี้ของ PP เราสามารถทำได้โดยเติม Ethylene Propylene Copolymer (EP Copolymer) ลงไป โดยจะต้องคุมปริมาณ EP ที่ใส่ให้อยู่ในระดับ 30 ถึง 40 wt% เนื่องจากถ้าใส่ในปริมาณที่มากกว่านี้ จะทำให้เกิดการรวมตัวของ EP Particle ทำให้มีขนาดใหญ่ และจะส่งผลต่อความสามารถในการทนแรงกระแทก และการทนต่อแรงดึงยืด (Tensile Elongation)

 

                      จากทั้งหมดที่กล่าวมานั้น จะเห็นได้ว่า PP มีความสามารถที่หลากหลาย และมีการประยุกต์ใช้มากมายในหลาย ๆ อุตสาหกรรม รวมไปถึงด้านยานยนต์ด้วย และเมื่อมีการปรับปรุงคุณภาพของ PP ก็ยิ่งทำให้มีการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น

 

มาตรการ CBAM ต่ออุตสาหกรรม Bio PP ของยานยนต์

ผลกระทบของ CBAM ต่อ สินค้าของประเทศที่สาม ในแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังวิกฤติ Covid-19 ของสหภาพยุโรป ที่ผู้นำประเทศสมาชิกให้ ความเห็นชอบเมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมานั้น ได้มีการกำหนดให้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ของ EU เช่น ภาษีพลาสติก และ CBAM รวมทั้งการจัดเก็บ ภาษีดิจิทัล เป็นเครื่องมือใน การหารายได้เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนของ EU ในอนาคต ภายหลังที่สหราชอาณาจักรพ้นจากสมาชิกภาพของ EU (Brexit) รวมทั้งเพื่อใช้ชำระเงินกู้เพื่อการฟื้นฟู เศรษฐกิจของ EU ภายหลังวิกฤติ Covid-19 ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลที่ตามมา ดังนี้ 

 

1. ราคาสินค้านำเข้าจากประเทศที่สามที่ไม่มี มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่เทียบเท่ากับของ EU จะมี ราคาสูงขึ้น อันอาจส่งผลให้ปริมาณการนำเข้าสินค้าลดลง 

2. ผู้ประกอบการหรือผู้บริโภคใน EU อาจหัน มาใช้สินค้าที่ผลิตใน EU เพิ่มมากขึ้น 

3. สินค้าราคาถูกกว่าจากประเทศที่สามที่มี มาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่ต่ำกว่าถูกกีดกันทางอ้อมไม่ให้ เข้าสู่ตลาด EU 

 

ในการนี้ CBAM อาจเป็นแรงกดดันทางอ้อมให้ ผู้ประกอบการในประเทศกำลังพัฒนาหันมาปรับปรุง กระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น