BCG Economy

BCG Economy Model คือการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio - Circular - Green Economy) 

B : Bio Economy ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า 

C : Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์
ให้ได้มากที่สุด  โดย Bio Economy และ Circular Economy นั้น จะอยู่ภายใต้
G : Green Economy ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน
 
BCG Economy Model ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เศรษกิจเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด มีความมั่นคง และผู้ประกอบการได้รับโอกาสในการเติบโตอย่างทั่วถึง สาเหตุที่ต้องนำ BCG Economy Model มาใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากปัญหาทรัพยากรที่ไม่เพียงพอต่อการบริโภคของมนุษย์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา นอกจากนี้ BCG Economy Model ยังเป็นแนวทางการพัฒนาที่สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) อีกด้วย
 
ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีการร่างแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วย BCG Economy Model ระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี (พ.ศ. 2565-2570) ภายใต้วิสัยทัศน์ “เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ประชาชนมีรายได้ดี คุณภาพชีวิตดี รักษาและฟื้นฟูฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ ให้มีคุณภาพที่ดี ด้วยการใช้ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม” โดยขับเคลื่อนผ่านทาง 4 ยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นตัวแปรหลักของค่า GDP ในประเทศไทย ได้แก่ 
1. สร้างความยั่งยืนของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ และวัฒนธรรม ด้วยการจัดสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และนำมาใช้ประโยชน์  
2. พัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจ ให้มีรากฐานที่แข็งแรง โดยการใช้ทุนทรัพย์ อัตลักษณ์ ความคิดสร้างสร้าง และนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเป็นหนึ่งในเครื่องมือช่วยพัฒนา
3. ยกระดับอุตสาหกรรมภายใต้ BCG Economy Model ให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งประกอบไปด้วย 4 สาขาคือ การเกษตรและอาหาร การแพทย์และสุขภาพ วัสดุและเคมีชีวภาพ
การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
4. ส่งเสริมการตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงโลก ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ หันมาขับเคลื่อนรากฐานไปด้วยนวัตกรรมและข่าวสารที่ทันสมัยอยู่เสมอ
 
BCG Economy Model ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลาสติก
 
อุตสาหกรรมพลาสติกนั้น อยู่ภายใต้สาขายุทธศาสตร์ที่ 3 ของการยกระดับอุตสาหกรรมภายใต้ BCG Economy Model ให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืน นั่นคือสาขาวัสดุและเคมีชีวภาพ ซึ่งมีมูลค่า GDP อยู่ที่ประมาณ 9.5 หมื่นล้านบาท ด้วยนโยบายจากภาครัฐ ทำให้อุตสาหกรรมในกลุ่มนี้สามารถเติบโตได้มากยิ่งขึ้นในหลาย ๆ ทาง เช่น การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการพัฒนานวัตกรรมการผลิตพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถรองรับของเสียที่หลากหลายโดยการนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบ Renewable Energy ทำให้เพิ่มอัตราการเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ทำให้เกิดธุรกิจพลังงานมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ในส่วนของผลิตภัณฑ์เคมีและวัสดุชีวภาพที่มีมูลค่าสูง อาทิ พลาสติกชีวภาพ ไฟเบอร์ ด้วยแนวทาง BCG Economy Model ส่งผลให้มีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่า GDP มากถึง 2.6 แสนล้านบาท
 
ผลกระทบของ BCG Economy Model ต่ออุตสาหกรรมพลาสติก คือทำให้มูลค่า GDP และอัตราการจ้างงานมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ลดความเลื่อมล้ำ เพิ่มดัชนีความมั่นคงบนฐานทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพ ตลอดจนลดปริมาณของเสียจากระบบ เพราะมีการนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีโครงการที่เรียกว่า Big Rock คือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในด้านเศรษฐกิตหมุนเวียน เช่น มีการจัดการกับขยะพลาสติกอย่างครบวงจร
 
 
 
 
          หาก Recycle พลาสติก PET และ PE ได้ 100% จะช่วยลดการใช้พลังงานเทียบเท่าการใช้น้ำมันเบนซิน 680 ล้านลิตรต่อปี นับเป็นมูลค่าถึง 18,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังช่วยลดการผลิตที่ต้องใช้พลังงาน และสารเคมีอื่น ๆ ส่งผลต่อเนื่องทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมลดลง เกิด Green Lifestyle ทำให้ผู้คนเห็นถึงความแตกต่าง และตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากร และเรียนรู้ที่จะใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย
 
 
 
ข้อดีของ BCG Economy Model